วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 

วันพ่อแห่งชาติ

ความเป็นมาของ วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้ง วันพ่อแห่งชาติโดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและ สังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น วันพ่อแห่งชาติ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลาน เธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น พ่อ ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
?อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ
ควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือพระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช  วันพ่อแห่งชาติ คือองค์อดิเรก
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน
ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติ ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป
ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วันพ่อแห่งชาติ

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง
สำหรับคุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง คณะกรรมการได้กำหนดไว้ดังนี้
1. มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
2. ส่งเสริมการศึกษาแกบุตรและธิดา
3. นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4. งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5. อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
6. มีภรรยาเพียงคนเดียว
หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร
  • ห้ามมิให้ทำความชั่ว – ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี – ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
  • ให้ศึกษาศิลปวิทยา – ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
  • หาคู่ครองที่สมควรให้ – เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
  • มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร – มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง
หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน – เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน – ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล – ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก – ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ – ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย
วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น วันชาติของไทย อีกด้วย








_______________________________
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง วันพ่อแห่งชาติ

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย
วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการเพื่อรำลึกถึงรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ วันรัฐธรรมนูญมักจะถูกจัดให้ตรงกับวันครบรอบการลงลายมือชื่อ การประกาศใช้ หรือการเห็นชอบซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือในบางกรณี เพื่อรำลึกถึงวันที่ประเทศเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เรามาทำความรู้จักความหมาย และที่มาของวันรัฐธรรมนูญกัน

 
วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย

ความหมายของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
  • อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
  • รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
  • พระมหากษัตริย์
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะกรรมการราษฎร
  • ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า ”พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475″ จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม 2475)
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  14. รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – ปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • คำปรารภ
  • หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
  • หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
  • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
  • หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
  • หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  • หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
  • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
  • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  • หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
  • หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
  • หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
  • หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
  • หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
  • หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
  • หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
  • บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
วันรัฐธรรมนูญ
สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้
หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
มีการจัดงาน “เด็กไทย รักรัฐสภา” พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Kapook.com, Wikipedia, Dailynews

วันขึ้นปีใหม่

Happy New Year

Happy New Year

ประวัติวันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
วันปีใหม่ 2555
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึง วันที่ 1 มกราคม เช่น เคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปีหรือ วันที่ 31 ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง มหรสพ และในตอนเช้า วันที่ 1 มกราคม ก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดหรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตรหรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
***********************************************************************************

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

***********************************************************************************

เพลงปีใหม่

เพลงสวัสดีปีใหม่สุนทราภรณ์

เนื้อเพลง สวัสดีปีใหม่
ศิลปิน : สุนทราภรณ์
สวัสดีปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย
ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น
สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน …


เพลงสวัสดีปีใหม่เบิร์ด Happy New Year

เนื้อเพลง สวัสดีปีใหม่
ศิลปิน : เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
หนาวๆๆๆๆนั่งๆนอนๆต้องห่มผ้าห่ม ใครไปภูกระดึงผิงไฟ
ดูๆๆๆๆเห็นนาฬิกามันพาเราไป เราก็รีบตามไปก็แล้วกัน
ดีๆๆๆๆ ถึงไงก็ดีกว่าอยู่เปล่าๆ เอายังไงก็เอาไม่ว่ากัน …
***********************************************************************************

คำอวยพรปีใหม่

Greetings of the New Year. Wishing you all success in the next.
สวัสดีปีใหม่ขออวยพรให้ท่านจงประสบความสำเร็จในทุกๆสิ่งในปีใหม่นี้

We wish you a holiday season that is filled with wonder and delight!
เราขออวยพรให้เทศกาลวันหยุดของคุณเติมเต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์และความเบิกบานใจ

One of my favorite gifts is hearing from you. Greetings of the season to you and yours.
ของขวัญลํ้าค่าคือการทราบข่าวคราวจากคุณเทศกาลแห่งอวยพรนี้จงเป็นของคุณและครอบครัว

Happy holidays! Wishing you all the joys of the season. Happy holidays!
ขออวยพรให้คุณมีความปีติยินดีตลอดทั้งปี

Christmas Greetings Wishing you a prosperous New Year! Christmas Greetings
ขออวยพรให้ท่านจงเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูตลอดปีใหม่

***********************************************************************************

กลิตเตอร์วันปีใหม่

รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่

กลอนปีใหม่

กลอนปีใหม่

กลอนสวัสดีปีใหม่
สวัสดีปีใหม่  ส่งใจอวยพร
เขียนเป็นคำกลอน  ให้พรสุขี
ขอให้ทุกท่าน  พ้นผ่านไพรี
อยู่ดีกินดี  โชคดีตลอด
มั่งมีเงินทอง  ข้าวของสินสอด
รายได้ตลอด  ให้ปลอดโรคภัย
เรื่องเจ็บอย่าป่วย  ความซวยห่างไกล
ทุกข์เข็ญจัญไร  จงไกลห่างตัว
จงสุขสำราญ  เบิกบานกันทั่ว
ความเลวความชั่ว  ห่างตัวห่างใจ
จงมีแต่สุข  เรื่องทุกข์อย่าใกล้
โชคดีปลอดภัย  คนไทยทุกคน
กลอนอวยพรปีใหม่
พร…ระริน สิ้นทุกข์พบสุขสันต์
ปี…เก่าพลันหมดไปใจสุขี
ใหม่…ผ่านมาจงอุ่นอบพบสิ่งมี
ใส่…โชคดีปีใหม่สดใสพลัน
พาน…พบสิ่งแสนดีไม่มีหมอง
จาก…พี่น้องร่วมใจในร้อยฝัน
บ้าน…รวมรักถักถ้อยร้อยจำนรร
สวน…สร้างสรรสิ่งดีปีใหม่เทอญ

วันคริสต์มาส



christmas

วันคริสต์มาส (Merry Christmas)
25 ธันวาคม ของทุกปี
ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของชาวคริสต์ เทศกาลสำคัญที่ว่านี้คือ เทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติของพระคริสต์เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมของทุกปี ในบางประเทศคริสต์มาสอาจจะเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เรียกว่า “แอดเวนท์” (มาจากภาษาลาติน แปลว่า “กำลังมา”) และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคมซึ่งเป็นวันที่นักปราชญ์สามคนที่มาจากทิศตะวันออกนำของขวัญมามอบแก่พระกุมารเยชู ด้วยเหตุนี้ในคืนวันที่ 6 มกราคม จึงเป็นคืนแห่งการมอบของขวัญในหลาย ๆ แห่งของโลก
และเมื่อวันคริสต์มาสอันเป็นวัดสุดยอดของเทศกาลมาถึง การเฉลิมฉลองก็จะเริ่มขึ้น ในช่วงเทศกาลนี้บ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้สดใสอบอุ่นด้วยต้นคริสต์มาสที่ประดับประดาเอาไว้อย่างสวยงาม ที่ใต้ต้นคริสต์มาสจะมีของขวัญวางเรียงไว้มากมาย ประตูบ้านและขอบเตาผิงจะถูกตกแต่งด้วยหรีดกิ่งสนและฮอลลีในเดนมาร์กมีการประดับกิ่งเบริร์ชด้วยผลแอปเปิ้ลสีแดงผลเล็ก ๆ และคนแคระตังจิ๋วที่เรียกว่า “พิสเชอร์” ในนอรเวและสวีเดนมีการทำสัตว์ตัวเล็ก ๆ จากฟางแล้วผูกด้วยริบบิ้นสีแดง
เมื่อพูดถึงอาหารในวันคริสต์มาสจะมีอาหารพิเศษมากมายทั้งไก่งวงที่แสนอร่อย เนื้ออบก้อนโตซอสแครนเบอร์รรี ขนมพาย พุดดิง เค้กและคุกกี้เป็นร้อย ๆชนิด ที่ฝรั่งเศษมีการทำเค้กพิเศษเป็นรูปขอนไม้รสชาติเข้มข้นที่เรียกว่า บุช เดอ โนแอล (ขอยไม้คริสต์มาส)และหลังจากอาหารค่ำที่แสนวิเศษผ่านไปนาทีอันน่าระทึกใจก็มาถึงนั่นก็คือการแกะของขวัญนั่นเอง คริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีเรื่องให้พูดถึงไม่รู้เบื่อ สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะฉลองเทศกาลนี้ก็ขอให้มีความสุขมาก ๆ
                    ทุกวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี จะมีการฉลองรื่นเริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลก กิจกรรมในวันนี้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ไม่ว่าจะเป็นการกินเลี้ยง แลกของขวัญ แต่งบ้านด้วยต้นคริสต์มาส ร้องเพลงคริสต์มาส ไปจนถึงเอาถุงเท้าไปแขวนรอซันตาคลอสผู้อารีย์นำของขวัญมาใส่ไว้ให้
วันคริสต์มาสมีความสำคัญคือ เป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ พระเยซูเป็นชาวยิว ประสูติในประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใกล้เคียงมาเป็นเวลาช้านาน มีนักปราชญืชาวยิวหลายท่านพยากรณ์ว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีพระบุตรของพระเจ้าเสด็จลงมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับอิสระภาพในที่สุดวันนั้นก็มาถึง เมื่อพระเยซูประสูติที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา มารดาของพระองค์ชื่อมาเรีย (ซึ่งเรารู้จักในนามแม่พระ) บิดาชื่อโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้
พระเยซูทรงพระปรีชาสามารถมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สามารถโต้ตอบกับพระชาวยิวในด้านศาสนาได้อย่างฉะฉาน ชีวิตในตอนต้นของพระองค์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายทรงมีอาชีพเป็นช่างไม้ช่วยบิดา จนพระชนมายุราว 30 พรรษา จึงเสด็จออกประกาศคำสอนและทรงรักษาคนป่วยประเภทต่าง ๆเช่น คนตาบอด ง่อยเปลี้ย ให้กลับเป็นปกติดังเดิม
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ
ต้นคริสต์มาสในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ …..นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต? ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
christmas
ซานตาคลอส
                          ซานตาคลอสที่เรารู้จักตคุ้นเคยและเห็นภาพดังที่พรรณนามาตั้งแต่ตอนต้น เพิ่งมีกำเนิดขึ้นมาเมื่อไม่เกิน 200 ปีนี้เอง กลุ่มชนที่สร้างเรื่องราวของวันซาคลอส จนกลายเป็นตำนานสำคัญส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์รุ่นบุกเบิกนั่นเอง
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับซานตาคลอสเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีเด็กชายคนหนึ่งเกิดในหมู่บ้านไมรา ซึ่งสมัยก่อนโน้น ตั้งอยู่ระหว่างเกาะโรดส์กับไซปรัส แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านเดมรี มีบ้านเรือนตั้งเรียงรายบนสันทรายใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เด็กชายผู้เกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชื่อว่า “นิโคลัส” ชีวิตของเขาอยู่บนกองเงินกองทองเพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย ไม่ช้าไม่นานพ่อแม่ก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินจึงตกเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แต่น่าแปลกที่นิโคลัสกลับมีใจโอบอ้อมอารีต่อคนยากคนจน ชอบแจกสมบัติช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนกลายเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัย
ครั้งนั้นก้อยังมีครอบครัวของชายชราคนจนครอบครัวหนึ่ง กำลังมีปัญหาด้วยบุตรสาวทั้งสามต้องการแต่งงาน แต่ไม่มีเงินจัดพิธีให้สมเกียรติก่อนคนสุดท้อง ครอบครัวนี้จึงตกอยู่ในความทุกข์อย่างหนัก
แต่เมื่อนิโคลัสทราบข่าว จึงนำทองคำใส่ถุง 2 ถุง แอบย่องเข่าไปวางไว้ในบ้านของชายยากจนยามดึกสงัด ทำให้ 2 สาวได้จัดพิธีแต่งงานได้อย่างใหญ่โตสมความปรารถนา ต่อมาก็ถึงเวลาของบุตรสาวคนสุดท้องนิโคลัสก็นำถุงทองแอบมาหย่อนลงทางปล่องไฟในยามราตรี เหตุที่ต้องใช้ปล่องไฟเพราะคืนนั้นหน้าต่างปิดสนิท
จากพฤติกรรมของนิโคลัสเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่เด็ก ๆ ในสมัยต่อมา แอบนำของขวัญวางไว้ที่เตียงนอนของลูก ๆ ในตอนกลางคืน แล้วบอกว่า ซันตาคลอสนำของขวัญมามอบให้กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ยกย่องซันตาคลอสให้ฝังอยู่ในจิตสำนึกของเด็ก ๆ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและนี่ก็คือ ตำนานความเป็นมาของ กำเนิดซานตาคลอส ” บิดาแห่งวันคริสต์มาส “นั่นเอง
เมื่อชาวดัตช์บางกลุ่มอพยพมาอยู่ในอเมริกาก็นำเอาความเชื่อถือศรัทธาในนักบุญนิโคลัสติดมาด้วย ยังมีการเฉลิมฉลองวันเซนต์นิโคลัสกันทุก ๆ ปี ในเดือนธันวาคม และในที่สุดก็ได้มีการดัดแปลงผสมผสานเข้ากับความเชื่อถือของชาวอเมริกันเชื้อสายอื่น ๆ ทางแถบตะวันออกของอเมริกาตำนานเซนต์โคลัสก็เลยมาผูกโยงกับการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส “ซินเตอร์คลาส” ของชาวดัตช์ซึ่งต่อมาได้กร่อนกลายเป็น “ซานตาคลอส” ก็มีบทบาทและหน้าที่สำคัญ คือ แจกของขวัญแก่เด็ก ๆ ในตอนเช้าตรู่ของทุกวันคริสต์มาสดังที่รู้ ๆ กันอยู่
ทั้งนี้ ภาพซานตาคลอส ภาพแรกที่ปรากฏเป็นชายแก่ใจดี เคราขาวพุงพลุ้ย ใส่เฟอร์โค้ทตัวหนาสีแดงขลิบขาว หอบข้าวของพุรุงพะรังเช่นที่เราคุ้นเคยกันนั้น เป็นฝีมือการวาดจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัวของนักเขียนการ์ตูนชื่อดังชาวอเมริกัน ที่ชื่อว่า “โธมัส แนสท์” ภาพแรกของซานตาคลอสนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในนิตยสาร harper’s illustrated weekly ปี พ.ศ.1863
ต่อมาเรื่องราวของซานตาคลอสก็แพร่กระจายไปสู่คริสต์ศาสนิกชนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนกระทั่งหลาย ๆ ประเทศสามารถสร้างตำนานที่มีรายละเอียดแบบเอ็กซ์ลูซีฟเกี่ยวกับซันตาคลอสเป็นของตนเอง เช่น ซานตาคลอสประเทศฟินแลนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด ซานตาคลอสมีบ้านและออฟฟิศอยู่ที่เมืองโรวานีมี เป็นเมืองท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี อยู่ในเขตแลปแลนด์ แคว้นหนึ่งของประเทศฟินแลนด์
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าซานตาคลอสจะอยู่ที่ไหน จะเป็นของชาติใด แก่นแท้ หรือสปิริตของความเป็นซานตาคอลสก็คือ ความรัก ความเมตตา กรุณา และความสดใสร่าเริง ซึ่งเป็นของสากลสำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาและทั่วทุกหนทุกแห่ง
เพลงคริสต์มาส
              เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ
  • เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles
    ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
  • เพลง Silent Night, Holy Night
    ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
เพลง : Jingle Bell
Dashing through the snow
On a one-horse open sleigh,
Over the fields we go,
Laughing all the way;
Bells on bob-tail ring,
making spirits bright,
What fun it is to ride and sing
A sleighing song tonight
Jingle bells, jingle bells,
jingle all the way!
O what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh
A day or two ago,
I thought I’d take a ride,
And soon Miss Fanny Bright
Was seated by my side;
The horse was lean and lank;
Misfortune seemed his lot;
He got into a drifted bank,
And we, we got upsot.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
A day or two ago,
the story I must tell
I went out on the snow
And on my back I fell;
A gent was riding by
In a one-horse open sleigh,
He laughed as there
I sprawling lie,
But quickly drove away.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
Now the ground is white
Go it while you’re young,
Take the girls tonight
And sing this sleighing song;
Just get a bob-tailed bay
two-forty as his speed
Hitch him to an open sleigh
And crack! you’ll take the lead.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

ประวัติ "วันลอยกระทง"












โอ๊ะโอ๋...!!! ไม่ทันไร ก็จะถึงวันลอยกระทงอีกแล้วววนะเจ้าค่ะ... แต่ก่อนที่เพื่อนๆ น้องๆ จะไปลอยกระทงกัน รู้รึยังเอ๋ย??? ว่าวันลอยกระทงของเรานั้น มี "ประวัติ ความเป็นมา" อย่างไร...?!?
อ้า!!! วันนี้ค่ะวันนี้ๆ พี่เจ้าหญิงได้นำเอาประวัติ ความเป็นมาของวันสำคัญของไทยเรา นั้นก็คือ..."วันลอยกระทง" มาฝากด้วยนะเจ้าค่ะ...
ลอย ลอย กระทง... ลอย ลอย กระทง...ลอยกระทงกันแล้วขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง...(อ่ะ!!!  ร้องเพลงเพลินเลยเรา )

0 ประวัติเพิ่มเติม
ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

 

การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ
ออ!!! มันมีประวัติความเป็นมาแบบนี้นี่เอง ประเทศของเราก็มีสิ่งดีๆ วันดีๆให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยเนอะ ดีจัง....ยังงัยก็ของให้เพื่อนๆ น้องๆ ไปลอยกระทงกันให้สนุกนะจ๊ะ
PS. แต่อย่าลืมช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของเราด้วยนะเจ้าค่ะ ใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยนะค่ะ  เพื่อเราทุกคนจะได้มีอากาศที่ดี บ้านเมืองที่สะอาดไว้อยู่คู่กับเราไปนานๆเลยนะเจ้าค่ะ 

        

__________________________________________


ถ้าเบื่อกระทงใบตอง เจ้าของกระทู้แนะนำ กระทงหัวปลี




ขั้นตอนการทำกระทงปลีกล้วย

1.ตัดใบตองเป็นวงกลมให้มีขนาดเท่ากับต้นกล้วยที่ใช้ทำฐานกระทงลอย นำมาปิดทับบนฐานกล้วย พักไว้

2.เตรียมกลีบหัวปลี ด้วยการใช้มีดเลาะปลีกล้วยออกทีละกลีบโดยเก็บเกสรกล้วยไว้ จากนั้นแยกสีของกลีบหัวปลีเรียงกันไว้ เพื่อสะดวกในการใช้งาน

3.ชั้นแรกติดเกสรกล้วยกับฐานกระทงให้รอบ ยึดด้วยไม้กลัดหรือตะปูเข็ม

ชั้นที่2 ใช้ปลีกล้วยที่มีสีอ่อนที่สุดพับครึ่งโดยนำด้านในออก นำติดให้รอบฐานกระทง

ชั้นที่ 3 ใช้ปลีกล้วยสีกลางติดโดยรอบ

ชั้นที่ 4 และ 5 ใช้ปลีกล้วยสีเข้มที่สุดติดโดยรอบ


4.นำดอกรักหรือดอกไม้ชนิดอื่นนำมาติดเรียงกันให้รอบฐานกระทงยึดด้วยไม้กลัดหรือตะปูเข็ม



5.นำธูป เทียน ปักกลางกระทง จะได้กระทงจากปลีกล้วยที่สวยงาม